ก่อนจะเริ่ม #เล่าเรื่องแบรนด์ ในตอนนี้ คุณรู้ไหมคะว่า?
แบรนด์แมคโดนัลด์ McDonald's
ร้านฟาสฟู้ดที่มีแฟรนไชส์ไปทั่วทุกมุมโลก
ไม่ได้ขายแฮมเบอร์เกอร์ หรือขายอาหาร
เป็นธุรกิจหลักนะ แต่ที่แบรนด์ฟาสฟู้ดชื่อดังนี้
กลับทำกำไรและเติบโตจากธุรกิจอื่นต่างหาก
เมื่อนึกถึงแบรนด์ McDonald’s เรามักจะนึกถึงร้านฟาสฟู้ด
ที่ขายแฮมเบอร์เกอร์ เฟร้นช์ฟรายส์ ไอศครีม
และมิลเชคแสนอร่อย เสริฟแบบรวดเร็วทันใจ
ภายใต้แบรนด์ที่มีสีแดงเป็นสีประจำแบรนด์
และโลโก้ตัว M บิ๊กเบิ้ม สีเหลืองทองสดใส
พร้อมทั้งยังมี โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เจ้าโจ้กเกอร์
แมสคอตสัญลักษณ์ประจำแบรนด์ ที่เห็นเมื่อไหร่
ก็ชวนให้หิว และน้ำลายไหลทุกที
ย้อนไปในยุค 50 เรย์ คร็อค วัย 52 ปี
เซลล์และเจ้าของกิจการขายเครื่องทำมิลค์เชค
ที่งานหลักของเค้าคือการขับรถไปยังเมืองต่างๆในอเมริกา
เพื่อนำเสนอขายเครื่องทำมิลค์เชค
ให้กับเจ้าของกิจการร้านอาหารและคาเฟ่ต่างๆ
ซึ่งช่วงนั้นธุรกิจของเค้ากำลังตกต่ำอย่างมาก
จนมาวันหนึ่ง เค้าได้รับออเดอร์สั่งซื้อเครื่องทำมิลค์เชค
จำนวนมากถึง 8 เครื่อง จากร้านอาหารร้านหนึ่ง
ในเมือง San Bernadino ต่างจังหวัดของอเมริกา
ซึ่งเอาจริงๆมันเซอร์ไพรส์เค้ามากๆที่อยู่ๆ
ก็ได้ออเดอร์ปริศนานี้เข้ามาแถมยังมาจากร้าน
ในต่างจังหวัดอีกนะ ถึงขั้นที่เค้าต้องกางแผนที่
หาพิกัดของร้าน(ยุคนั้นยังไม่มีกูเกิ้ลแมพอ่ะนะ)
และรีบขับรถไปดูกิจการร้านอาหารที่ว่าด้วยตา
ของตัวเองเลยทันที
และเมื่อเค้าไปถึงร้านอาหารที่ว่า
ก็สร้างความประหลาดใจให้เค้าอยู่ไม่น้อย
ร้านอาหารนี้คึกคักด้วยลูกค้าต่อคิวรอซื้ออาหารหน้าร้าน
แต่ถึงแม้คนจะเยอะ พนักงานก็บริการได้อย่างรวดเร็ว
แถมยังยิ้มแย้มแจ่มใส แต่งตัวด้วยยูนิฟอร์มสะอาดสะอ้าน
ทำงานกันอย่างดูเป็นขั้นตอนและมีระบบ
อาหารที่มีให้สั่งจากร้านนี้ ไม่ได้มีมากมายหลายเมนู
แต่ความพิเศษก็คือ...ลูกค้าที่มาที่ร้านนี้
จะต้องสั่งอาหาร และบริการตัวเอง
ซึ่งเป็นอะไรที่ใหม่มากๆสำหรับยุคนั้น
แถมลูกค้าเองก็จะได้รับอาหารอย่างรวดเร็ว
ซึ่งถ้าเทียบกับร้านอาหารอื่นๆในยุคเดียวกัน
ที่ยังนิยมการบริการประเภท Drive in
หรือการขับรถเข้าไปในร้านอาหาร
แล้วจะมีพนักงานเสริฟเอาอาหารมาเสริฟ
ให้เรานั่งทานกันบนรถของเราเอง
ซึ่งข้อเสียของการทานอาหารแบบ Drive in
คือ ลูกค้าต้องรออาหารไม่ต่ำกว่า 30 นาทีขึ้นไป
แถมอาหารก็รสชาดไม่เคยจะคงเส้นคงวา
วันนี้อร่อย พรุ่งนี้ไม่อร่อยก็มี บริการ ความสะอาด
และมาตรฐานที่ได้รับ นี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
เพราะไม่มีเลยในร้านอื่นๆในตอนนั้น
นี่เลยเป็นที่มาของคอนเซ็ปท์และไอเดีย
“ในการหยิบเอาปัญหาของลูกค้า”
มาแก้ไข ปรับปรุง และสร้างแบรนด์ที่ตอบโจทย์
เพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกค้าโดยเฉพาะ
โดย ดิ๊ก และ แมค สองพี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์
ได้เห็นปัญหาที่เป็น Pain Point จุดเจ็บ
ของคนในยุคนั้น ทั้งสองคนจึงปิ๊งไอเดีย
และได้คิดค้นระบบ การจัดการร้านอาหารแบบใหม่ขึ้นมา
☑️ทั้งร่างแบบ Concept ของร้าน ที่ใครขับรถผ่านไปมา เห็นแล้วว้าว สะดุดตาอย่างแน่นอน
☑️ เลือกเส้นโค้งสีทองเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ (ให้ลองนึกถึงขาข้างหนึ่งของตัว M ในโลโก้แมคโดนัลด์)
☑️ ร้านต้องสว่างๆดูสะอาดสะอ้าน
☑️ มีระบบ Automation การวางผังครัว ผังการทำงาน เคาเตอร์ต่างๆ เวิร์คโฟลในการทำงานต่างๆ
☑️ ต้องเอื้อให้พนักงานทำงานและเสริฟอาหาร ให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วฉับไวที่สุด
☑️ ใช้ระบบ Self service ลูกค้าสั่งอาหาร และบริการตัวเอง เพื่อความรวดเร็ว
☑️ มาตรฐานต้องเท่ากันทุกออเดอร์ รสชาดของอาหารต้องเป๊ะ มีระบบคุมเข้มว่าเฟรนท์ฟราย
ต้องทอดกี่นาที แตงกวาดองต้องใส่กี่ชิ้น ผักในเบอร์เกอร์ต้องมีอะไรบ้าง เนื้อเบอร์เกอร์ต้องสุกกำลังดี และที่สำคัญ เบอร์เกอร์ทุกชิ้น มิลค์เชคทุกแแก้ว
ต้องมีรสชาดที่เหมือนกัน ได้มาตรฐานแบบเดียวกัน
☑️ ความสะอาดภายในร้านต้องยืนหนึ่ง
☑️ การบริการจากพนักงาน ต้องประทับใจ
เรย์ คล็อค ประหลาดใจและสนใจธุรกิจนี้อย่างมาก
ถึงขั้นเอ่ยปากขอเซ็นต์สัญญาแฟรนไชส์
กับสองพี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์ทันที
เค้าเลือกเอาบ้านของตัวเองไปจำนอง
เพื่อเปิดแมคโดนัลด์ แฟรนไชน์ สาขาแรกขึ้น
และด้วยความมีเลือดนักขาย และนักธุรกิจอยู่ในตัวเค้า
เค้าจึงเลือกที่จะขยายธุรกิจแฟรนไชน์นี้อย่างรวดเร็ว
แต่อะไรที่เร็วไปมักจะตามมาด้วยปัญหาเสมอ
การขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้คุณภาพ
ของร้านแมคโดนัลด์สาขาแฟรนไชส์
ที่บริหารโดย เรย์ คร็อค มีมาตรฐานต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
พนักงานทำงานแบบไม่ใส่ใจ ร้านแฟรนไชส์
สาขาต่างๆสกปรก ไม่รักษาความสะอาด
เลือกขายอาหารหลากหลายตามใจชอบ
ลำพังตัวเค้าเองคนเดียวจะให้ตามดูทุกสาขาคงไม่ไหว
ด้วยปัญหานี้ เค้าจึงเลือกแก้ปัญหา
โดยการมีผู้จัดการร้าน ให้เป็นตัวแทนของเค้า
โดยเน้นเป็นคู่รัก หรือสามีภรรยามาทำงานตำแหน่งนี้
ผู้จัดการร้านจะรักงานที่ทำ
เหมือนกิจการในครอบครัวของตัวเอง
แถมความฉลาดในการเลือกใช้คนของเค้าก็ไม่ใช่ย่อย
พนักงานคนไหนที่ทำงานดี ทำงานเข้าตา
เรย์ คร็อก ก็พร้อมจะโปรโมต ผลักดัน
และมอบตำแหน่งดีๆให้เห็นได้จาก
เฟรด เทิร์นเนอร์ จากพนักงานทอดเบอร์เกอร์
ในร้านสาขาแรกที่เค้าเปิดกลายมาเป็น CEO คู่ใจ
ของเรย์ คร็อก ที่พาแมคโดนัลด์ขยายกิจการไปกว่า 100 สาขาทั่วโลก
ถึงแม้กิจการจะดูไปได้สวย
แต่เปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนจากแฟรนไชน์
ที่เค้าเซ็นต์สัญญากับพี่น้อง แมคโดนัลด์ ตั้งแต่แรก
ก็ดูจะไม่มากเท่าไหร่นัก
บริษัทของเค้าเริ่มประสบปัญหาเรื่องการเงิน
ถึงขั้นแบงค์จะยึดบ้านของเค้าที่เอาไปจำนอง
เพื่อเปิดร้าน แฟรนไชน์ สาขาแรกของเค้า
จุดเปลี่ยนของแมคโดนัลด์...
จากแค่ธุรกิจร้านอาหารแฟรนไชส์
มาสู่ธุรกิจที่ทำเงินอย่างมหาศาลเกิดตรงที่
บังเอิญ เรย์ คร็อก โชคดีพบกับที่ปรึกษาทางการเงิน
ที่บอกแนะนำเค้าว่า จริงๆแล้วเค้าโฟกัสผิดธุรกิจนะ
เพราะแมคโดนัลด์ ไม่ใช่แค่กิจการอาหาร แต่แมคโดนัลด์
คือกิจการ “อสังหาริมทรัพย์” ต่างหาก
จากที่จะขายแค่แฟรนไชส์
และกำไรจากเปอร์เซ็นต์เล็กๆน้อยๆ
ก็ให้เปลี่ยนเป็นตัวเค้าคือผู้กำหนด
และเป็นเจ้าของสถานที่ตั้งของร้านแฟรนไชส์ซะเอง
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเช่าสถานที่นั้นๆในการเปิดร้าน
แบบนี้เค้าเองจะได้ทั้งผลกำไรจากการขายแฟรนไชนส์
ค่าเช่าสถานที่และที่สำคัญ กรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน
อาคาร อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งของร้านต่างๆ
และจุดเปลี่ยนตรงนี้แหละค่ะ ที่ทำให้ แมคโดนัลด์
ทำกำไรอย่างมหาศาล และเติบโตอย่างรวดเร็ว
แบบก้าวกระโดดสุดๆ
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้
ไม่ถูกใจสองพี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์อย่างแน่นอน
เรย์ จึงมีข้อเสนอให้สองพี่น้องขายหุ้นให้กับเค้า
โดยท่ีเค้าจ่ายเงินให้สองพี่น้องเป็นเงิน
สูงถึง 2.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงิน
จำนวนมหาศาลในยุคนั้น แถมยังอนุญาติ
ให้ร้านแรกที่เป็นโมเดลธุรกิจของแมคโดนัลด์
ให้สองพี่น้องสามารถดำเนินการต่อได้ และสัญญาปากเปล่า
ว่าหลังจากนี้เค้าจะให้ผลตอบแทน 1% ต่อสองพี่น้อง
ถ้ากิจการไปได้สวยในอนาคต
ฟังดูเหมือน เรย์ คร็อก แฟร์และใจดีมากๆ ใช่ไหม
แต่จริงๆก็แอบมีมุมดาร์ค ของเค้า
และการทำธุรกิจอยู่ไม่น้อยเลยนะ
เพราะหลังจากที่สองพี่น้องยอมขายหุ้นให้เค้าแล้วนั้น
เค้าก็จดลิขสิทธิ์ชื่อของ แมคโดนัลด์ เป็นของตัวเองทันที
และไม่อนุญาติให้สองพี่น้องแมคโดนัลด์
ใช้ชื่อแมคโดนัลด์ กับร้านอาหารของเค้าได้อีกต่อไป
แถมผลตอบแทน 1% ที่เค้าว่าจะมอบให้สองพี่น้อง
ถ้ากิจการไปได้สวยกลับไม่เคยมีอยู่จริง
กลายเป็นสัญญาปากเปล่าเท่านั้น (หักมุมสุดๆไปเลยค่า)
ถ้าศึกษาแบรนด์นี้อย่างจริงจัง
เอาจริงๆตั้งแต่เริ่มต้น เรย์ คร็อกซ์ สามารถขโมยไอเดีย
รูปแบบโมเดลการสร้างร้านของสองพี่น้องไปทำเองได้เลยนะ
แต่เค้าเลือกที่จะไม่ทำ ไม่ลอกเลียนแบบ ไม่ก้อปปี้
เพราะสิ่งที่เค้าต้องการมันไม่ใช่วิธีการ ไม่ใช่ระบบ
ไม่ใช่รูปแบบ แต่มันคือ “แบรนด์แมคโดนัลด์”
ทั้งแบรนด์เลยต่างหาก
ถึงขั้นมีคำกล่าวจากเค้าที่ว่า
“ถ้าคุณทำแล้วสู้คู่แข่งของคุณไม่ได้
ก็ให้ซื้อคู่แข่งของคุณซ่ะ”
แสบจริงๆเลยใช่ไหมล่ะค่ะ
ข้อคิดทิ้งท้ายจากเซลล์ขายเครื่องมิลค์เชค
วัย 52 สู่เจ้าของกิจการแฟรนไชส์ระดับโลก
“ความสำเร็จไม่ได้ได้มาจากความสามารถพิเศษ
ไม่ได้มาจากการศึกษา ไม่ได้มาจากความฉลาด
ไม่ได้มาจากโชคช่วย แต่ความสำเร็จ
เกิดขึ้นได้จาก Persistence หรือความเพียรพยายาม
การลงมือทำอย่างสม่ำเสมอไม่เลิกล้ม
และไม่ยอมแพ้ไปอย่างง่ายๆต่างหาก
ไม่ว่าคุณจะเจออุปสรรคหรือปัญหาใดๆก็ตาม”
และนี่คือ #เล่าเรื่องแบรนด์
กับตำนานของร้านอาหารแฟรนไชส์ระดับโลก
ที่พี่แนนซี่นำมาฝากกันในวันนี้ค่ะ
เชื่อว่าบทความนี้จะให้ไอเดียดีๆหลายๆอย่าง
กับทุกๆคนนะคะ ส่วนใครอยากดูแบบลงลึกเพิ่มเติม
ลองหาหนังเรื่อง The Founder มาดูกันค่ะ
เชื่อว่าคุณจะเห็นมุมมองต่างๆของแบรนด์ระดับโลก
แบรนด์นี้อย่างมากมายอย่างแน่นอน
#เล่าเรื่องแบรนด์
และเหมือนเดิมค่ะ
อย่าลืมติดตามทุกๆช่องทางของเรากันไว้ด้วยนะคะ
ติดตามกันได้จากทางนี้เลย
▪️Follow me at : ติดตามกันได้ที่ ▪️
▪️Facebook ▪️ https://www.facebook.com/thebranding55/
▪️Youtube Channel ▪️THE BRANDING ACADEMY
▪️Instagram ▪️www.instagram.com/thebranding_academy
▪️Website ▪️www.thebranding-academy.com
Comments