top of page

เพิ่มฟีลลิ่งใส่ความรู้สึก ด้วยการเลือกใช้ FONT ประจำแบรนด์

Updated: Nov 20, 2020

การสร้างฟีลลิ่ง ใส่อารมณ์ความรู้สึกให้กับแบรนด์

หรืองานกราฟิกต่างๆ มันก็เหมือนกับการที่คุณ

กำลังพยายามสร้างให้แบรนด์หรือสื่อกราฟิกต่างๆของคุณ

ให้เกิดมีชีวิตขึ้นมาและจะช่วยส่งต่อสารๆต่างๆ

จากแบรนด์หรือตัวคุณ ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย

ได้อย่างแม่นยำ และถูกต้อง


ไม่อยากให้แบรนด์แข็งทื่อไร้ชีวิต

จริงๆแล้วถ้าเราอยากจะให้แบรนด์

หรือ Visual Branding ต่างๆ สื่อความหมายและมีชีวิตจิตใจขึ้นมา

ไม่ได้แข็งทื่อ ดูไร้ชีวิตชีวา ไร้ความหมาย

เราต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่างประกอบเข้าด้วยกัน

ไม่ว่าจะเป็นสีประจำแบรนด์ ที่แบรนด์เลือกไว้ใช้สื่ออารมณ์ หรือจะเป็นกราฟิก หรือรูปภาพต่างๆ

ที่มีความหมายเชิงลึกทางจิตวิทยา ที่จะช่วยสื่อ และส่งต่อสาร ที่แบรนด์

อยากจะส่งให้กลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างแม่นยำ



 

แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีพลังมากๆ

ที่นักออกแบบแบรนด์จากทั่วโลก ใช้เป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญในการสื่อสาร

อารมณ์ ความรู้สึก และบุคลิกลักษณะของแบรนด์ต่างๆ

ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น สิ่งๆนั้นก็คือ FONT หรือตัวหนังสือนั่นเองค่ะ


การเลือกใช้ Font ที่จะมีดีแค่สื่อสารทางตัวหนังสือ หรือแค่เป็นเครื่งประดับงานกราฟิกสวยๆ

เราควรต้องรู้จัก "พลังลับ" ในแง่จิตวิทยาของ Font ประเภทต่างๆ

เราจึงจะหยิบ จะเลือกมาใช้ ได้ถูกจุดประสงค์ และเป้าหมายในการนำเสนอแต่ละอย่างมายิ่งขึ้น








Font แต่ละประเภท สื่ออารมณ์ และมีความหมายที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น

Font ประเภทมีขา หรือ Serif font

ให้ความรู้สึกถึงความหรูหรา สง่างาม คลาสสิค

แต่กลับกันกับ Font ประเภทไม่มีขา

หรือ San Serif ที่ให้ความรู้สึกถึงความโมเดิร์น

เรียบหรู ทันสมัย มินิมอล




 

ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อหยิบ Font มาใช้

ได้ตรงตามความหมายที่อยากสื่อแล้ว อย่าลืมเลือกองค์ประกอบอื่นๆที่สื่อความหมาย

ไปในทิศทางเดียวกันด้วยนะคะ แล้วต่อจากนี้

Visual Branding ของคุณ หรืองานกราฟิกต่างๆของคุณ จะไม่ได้มีดีแค่ความสวย อีกต่อไปค่ะ




 

Follow me at : ติดตามกันได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/thebranding55/ Youtube Channel :

THE BRANDING ACADEMY Instagram : www.instagram.com/thebranding_academy Website : www.thebranding-academy.com LINE @thebranding


#Branding #สร้างแบรนด์ #แบรนด์ดิ้ง #กราฟิกดีไซน์

bottom of page